หมุน “เกลียว” แล้วติด หมุนต่อไม่ได้ เกิดจากอะไร

หมุน “เกลียว” แล้วติด  หมุนต่อไม่ได้ เกิดจากอะไร?? ปัญหาเรื่องเกลียวนี้ ต้องมีทางออก ซันวามีคำตอบให้ครับ

ปัญหาการต่ออุปกรณ์ประปา เช่น การต่อ ก๊อกน้ำ กับ ข้อต่อ หมุนเกลียวได้แค่รอบหรือสองรอบก็หมุนต่อไม่ได้ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

  1. ร่องเกลียวชำรุด ไม่เรียบ
  2. เกลียวไม่เท่ากัน จากมาตรฐานในการผลิตเกลียวต่างระบบกัน ทำให้มุมฟันเกลียวมีองศาที่ไม่พอดีกับร่องเกลียว หรือ ผลิตเกลียวไม่ได้ตามมาตรฐานเกลียวท่อของระบบนั้น ๆ ครับ

สำหรับมาตรฐานเกลียวท่อที่นิยมใช้ในประเทศไทย  มี 3 ระบบด้วยกัน มีความแตกต่างขององศามุมฟันเกลียว ดังนี้

  1. มาตรฐานเกลียวท่อระบบอเมริกา (NPT) National Pipe Thread มุมฟันเกลียว = 60 องศา
    2. มาตรฐานเกลียวท่อระบบญี่ปุ่น (JIS) Japanese Industrial Standards มุมฟันเกลียว = 55 องศา
  2. มาตรฐานเกลียวท่อระบบอังกฤษ (BSP) British Standard Pipe มุมฟันเกลียว = 55 องศามาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย คือ มาตรฐานเกลียวท่อระบบญี่ปุ่น (JIS) และ มาตรฐานเกลียวท่อระบบอังกฤษ (BSP)สำหรับผลิตภัณฑ์ของ SANWA ใช้มาตรฐานเกลียวท่อระบบญี่ปุ่น (JIS) JIS B 0203 เป็นเกลียวแบบ PT เกลียวสโลพหรือเกลียวเตเปอร์ มีชื่อเต็มๆ ว่า Japanese Industrial Standards Tapered Pipe Thread ซึ่งมีข้อดีที่ช่วยลดการรั่วซึมในระบบท่อได้ดี มั่นใจได้เลยครับว่าผลิตภัณฑ์ SANWA มี “เกลียว” ที่ได้มาตรฐาน และใช้ได้กับอุปกรณ์ประปาต่าง ๆ ได้แน่นอน Tips : วิธีแก้ปัญหาเมื่อหมุน “เกลียว” แล้วติด
    1. หากหมุนติดขัด หรือหมุนไม่ได้ อย่าฝืนหมุนต่อเพราะจะทำให้เกลียวพัง ให้ถอดอุปกรณ์ประปาออกมาดูร่องเกลียวว่าชำรุดหรือไม่  หากชำรุดควรเปลี่ยนใช้อันใหม่ครับ
  3. กรณีร่องเกลียวปกติ อาจมีสาเหตุมาจากเกลียวไม่เท่ากัน ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่อย่างเดียวเลยครับ
    3. วิธีเลือกอุปกรณ์ประปาให้เกลียวใช้งานด้วยกันได้ ควรเลือกอุปกรณ์ประปาที่ระบุมาตรฐานเกลียวชัดเจน หรือ เลือกจากยี่ห้อที่ได้มาตรฐาน เป็นที่รู้จัก น่าเชื่อถือ
  4. ตรวจสอบเกลียวก่อนซื้อทุกครั้ง ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ครับ

สบู่ตกทำส้วมอุดตันทำอย่างไรดี

การทำสบู่ตกลงไปในชักโครก

ถือเป็นสาเหตุทำให้ ส้วมตัน ที่เราพบกันได้บ่อยทีเดียว ยิ่งด้วยความลื่น พอสบู่เผลอหลุดมือไปตกในชักโครก ก็ยากที่จะเก็บ โดยปกติแล้ว เมื่อสบู่ก้อนตกลงไปอุดตันในชักโครกก็จะค่อยๆ ละลายไปเรื่อย ๆ จนน้ำไหลได้อย่างปกติ แต่อาจใช้เวลานาน ทำให้ไม่สามารถใช้ห้องน้ำได้ดั่งใจ

 

SANWA และประปาแมนจึงขอนำวิธีจัดการกับสบู่เจ้าปัญหามาฝากกันครับ

 

  1. งดการใช้ห้องน้ำไปก่อน

เนื่องจากสบู่ที่ตกลงไปจะทำให้น้ำเอ่อล้น กดน้ำไม่ลง เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับสิ่งไม่พึ่งประสงค์ จึงควรจัดการทันทีครับ รอแปปเดียว ทนหน่อยน้า

  1. ลดปริมาณน้ำ

วิดน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อจัดการกับก้อนสบู่ได้ง่ายๆ โดยอาจใช้กาลักน้ำเข้าช่วยนะครับ

  1. ราดน้ำร้อนลงไป

นำน้ำร้อนเดือดๆ ประมาณ 2-4 ลิตร ค่อยๆ ราดลงไป น้ำร้อนจะละลายสบู่จนทำให้น้ำกลับมาไหลได้สะดวกอีกครั้ง

  1. กดชักโครก หรือราดน้ำตามปกติ

หากน้ำไหลได้สะดวกตามเดิม แสดงว่าสบู่ละลายไปหมดแล้ว ถ้ายังอุดตันอยู่ ให้ทำตามขั้นตอนซ้ำอีกครั้ง

 

เพียงเท่านี้ ก็หมดปัญหาส้วมตันเพราะสบู่ตกแล้วครับ

 

DIY ห้องน้ำปลอดเชื้อรา

เชื้อราในห้องน้ำไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

 

จุดเริ่มต้นของเชื้อราในห้องน้ำอาจเริ่มจากเป็นจุดเล็กๆ และขยายมากขึ้น จนห้องน้ำไม่น่าใช้ ในกรณีที่ร้ายแรง เชื้อราในห้องน้ำอาจกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น เรามาป้องกันความชื้นสะสมในห้องน้ำ อันเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อรากันครับ ห้องน้ำของเพื่อนๆ จะได้สวยปิ๊งปราศจากจุดเชื้อราเขียวๆ ดำๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

  • หากห้องน้ำมีหน้าต่าง ให้หมั่นเปิดระบายอากาศและรับแสงแดดทุกวัน แสงแดดจากธรรมชาติจำกัดความชื้นและฆ่าเชื้อราได้ดีนักเชียว
  • ติดพัดลมระบายอากาศสำหรับห้องน้ำ ที่เน้นเรื่องระบายอากาศเป็นหลัก โดยขนาดของพัดลมความเหมาะสมกัดขนาดของห้องน้ำ สามารถปรึกษาผู้ขายได้ที่ร้าน
  • หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ และ เช็ดห้องน้ำให้แห้งหลังการใช้งานอยู่เสมอ
  • วางสารดูดความชื้น หรือเบคกิ้งโซดา หรือผงฟู เพื่อดูดความชื้นตามจุดต่างๆ ในห้องน้ำ
  • หากเริ่มมีมีจุดเชื้อรา สามารถใช้น้ำสมสารชูขัดออกแล้ว เช็ดตามด้วยแอลกอฮอลฆ่าเชื้อ โดยเช็ดแบบไปทางเดียว (ไม่ถูไปมา) เพื่อป้องกันเชื้อรากลับมาใหม่

 

ห้องน้ำมักจะเปียกชื้นจากการใช้งานอยู่แล้ว ยิ่งในหน้าฝนแบบนี้ ความชื้นในอากาศก็สะสมเพิ่มขึ้นไปอีก โอกาสเกิดเชื้อราก็มีมากตาม เเต่ถ้าทำตามวิธีที่ประปาแมนแนะนำ จะช่วยหลีกเลี่ยงได้แน่นอนครับ

ทำอย่างไร หากน้ำประปาไม่ไหล

น้ำประปาไม่ไหล ใครๆ ก็ปวดหัว

แต่จะมัวนั่งเซ็งก็ใช่ที ถ้าเจอสถานการณ์นี้ เรามาหาสาเหตุกันดีกว่าครับ

อันดับแรก…ตรวจดูประตูน้ำทั้งหน้าและหลังมาตรวัดน้ำก่อน

ว่าเปิดหรือปิดอยู่หรือไม่ ถ้าประตูน้ำหน้าหรือหลังมาตรวัดน้ำตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้งสองตัวปิดอยู่ ก็จะทำให้น้ำไม่ไหลจากท่อเมนเข้าสู่ตัวบ้าน

ถ้าพบว่าประตูน้ำเปิดอยู่แล้ว ลองสอบถามเพื่อนบ้านข้างเคียง

ว่าน้ำประปาไหลหรือไม่ เป็นการตรวจสอบที่รวดเร็วอีกวิธีครับ หากน้ำของเพื่อนบ้านข้างเคียงไหลปกติ ก็แสดงว่าบ้านของเราต้องมีจุดที่ปิดกั้นการไหลของน้ำอยู่ครับ

หากตรวจดูทั้งสองวิธีข้างต้นแล้ว ยังไม่ไหลอยู่ ก็ให้สอบถามไปยังสำนักงานประปาในพื้นที่ที่ท่านใช้บริการอยู่ครับ

 

สำหรับในกรุงเทพฯและปริมณฑล

แจ้งการประปานครหลวง กปน. – สายด่วน MWA 1125

สำหรับต่างจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)

แจ้งการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) – สายด่วน PWA 1662

 

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมตัวในกรณีที่น้ำไม่ไหลอีก ขอแนะนำให้มีถังเก็บน้ำสำรองน้ำไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน โดยขนาดความจุของถังเก็บน้ำไม่น้อยกว่า 500 – 1,000 ลิตร เราจะได้มีน้ำสำรองเก็บไว้ใช้ได้ ไม่ลำบาก

หากน้ำประปาไหลค่อยมาก จะติดปั๊มดูดจากท่อประปาโดยตรงได้หรือไม่

“น้ำประปาที่ไหลเข้าบ้าน ไหลค่อยมาก จะติดปั๊มดูดจากท่อประปาโดยตรงได้เลยมั้ย”

หากใครกำลังสงสัยเรื่องนี้ ประปาแมนมีคำตอบมาฝากกันครับ

สำหรับท่อประปาที่จ่ายเข้าบ้านพักอาศัยทั่วไป จะมีขนาดประมาณครึ่งนิ้ว การติดตั้งปั๊มสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ จะทำให้น้ำไหลเข้าทางดูดของปั๊มไม่ทัน อาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรติดปั๊มดูดจากท่อประปาโดยตรงครับ

วิธีที่ถูกต้อง คือ ต้องมีบ่อพักน้ำที่ติดตั้งประตูน้ำแบบลูกลอยกันน้ำล้น แล้วติดตั้งปั๊มสูบน้ำจ่ายในครัวเรือนอีกครั้ง ขนาดของบ่อพักน้ำก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนสมาชิกในบ้าน โดยทั่วไปหากบ้านหนึ่งหลังอยู่กัน 3-4 คน ใช้บ่อพักน้ำหรือถังเก็บน้ำขนาดประมาณ 1,000 ลิตร ก็เพียงพอครับ

ที่สำคัญ การติดปั๊มน้ำนั้น ห้ามติดตั้งเพื่อดูดน้ำโดยตรงจากท่อเมนของประปา ถือว่าผิดกฎลักษณะการติดตั้งขอใช้น้ำของทางการประปานะครับ และทำให้มาตรวัดน้ำเกิดความเสียหายได้ง่ายด้วย ทางที่ดีควรแจ้งให้การประปาที่รับผิดชอบในพื้นที่ทราบ เพื่อหาทางแก้ไขให้ถูกต้องครับ

สำรวจเส้นท่อประปาภายในบ้านกับประปาแมน

เคยสงสัยกันมั้ย ว่าที่หน้าบ้านเรามีมิเตอร์น้ำติดอยู่นั้น น้ำประปาเดินทางกันยังไงไปตามจุดจายน้ำต่างๆ ในบ้าน?

 

วันนี้ประปาแมนจะมาสแกนตัวบ้านให้เห็นเส้นท่อกันชัดๆ ว่าน้ำประปาจากท่อบริการหน้าบ้าน เดินทางไปที่จุดจ่ายน้ำไหนกันบ้างนะครับ ท่านใดที่กำลังปรับปรุงบ้าน อย่าพลาดเช็คลิสต์จุดจ่ายน้ำเหล่านี้นะครับ

 

1) เริ่มแรกหลังจากน้ำประปาเดินทางผ่านมาตรวัดน้ำมาแล้วหลายๆ บ้านนิยมติดตั้งแท้งค์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นบนดินหรือใต้ดินแล้วแต่ความสะดวก เพื่อพักและเก็บสะสมน้ำประปาไว้ ให้ปั๊มน้ำดึงน้ำไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆ ในบ้าน นอกจากจะทำให้แรงดันน้ำเพิ่มขึ้น น้ำไหลแรงสะใจแล้ว ยังเผื่อกรณีฉุกเฉินที่ท่อบริการจากการประปาต้องหยุดจ่ายน้ำเพื่อการซ่อมบำรุงด้วยครับ

 

2) ก่อนจะเข้ามายังตัวบ้าน หลายๆ ท่านก็นิยมติดก๊อกซักล้างสารพัดประโยชน์ไว้นอกตัวบ้าน ไม่ว่าจะใช้ซักผ้า ล้างอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยากจะทำนอกบ้าน หรือต่อรดน้ำต้นไม้ในสวนก็สะดวกเป็นอย่างยิ่งครับ

 

3) ถัดเข้ามาในบ้าน ห้องซักล้าง ที่ติดตั้งเครื่องซักผ้า และห้องครัวที่จะต้องมีซิงก์ล้างจาน อย่าลืมเช็คจุดจ่ายน้ำให้ครบถ้วนตามความต้องการการใช้งานกันนะครับ อ้อ! แล้วอย่าลืมติดตั้งวาล์วน้ำระหว่างท่อน้ำกับอุปกรณ์ที่ต้องการใช้น้ำประปาทั้งหลาย เพื่อความสะดวกในการปิดวาล์วเล็กแต่ละจุดหากเกิดกรณีที่ต้องการปิดน้ำเพื่อซ่อมบำรุงอุปกรณ์แต่ละจุดยังไงล่ะครับ

 

4) สุดท้ายก็คือห้องน้ำ ที่มีจำนวนมากน้อยและมีการติดตั้งสุขภัณฑ์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปนั้น อย่าลืมเช็คลิสต์ดังต่อไปนี้นะครับ

o ฝักบัวหรือจุดอาบน้ำ (หากมีอ่างอาบน้ำเพิ่มเติมก็จะมีท่อแยกอีก 1 จุด)

o ชักโครก และสายฉีดชำระ ควรท่อแยก 2 ท่อ และมีสต็อปวาล์ว ซึ่งเป็นวาล์วน้ำเล็ก สำหรับสายน้ำดีที่จ่อเข้าชักโครก 1 จุด และสายฉีดชำระอีก 1 จุด ขนาดหากบ้านใดไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องใช้สายฉีดชำระ ก็ลดเหลือเพียง 1 ท่อ สต็อปวาล์ลอีก 1 ตัวพอครับ ซึ่งหากในภายหลังจะเปลี่ยนใจมาติดตั้งสายฉีดชำระ ก็สามารถเลือกใช้สต็อปวาล์ว 3 ทาง ที่มีหัวต่อเข้ากับ ท่อจ่ายน้ำ 1 หัว และมีอีก 2 หัวออกมาสำหรับต่อเข้ากับสายน้ำดีของชักโครก และสายฉีดชำระครับ

 

ส่วนบ้านใครที่ยังมีจุดจ่ายน้ำเพิ่มเติมนอกเหนือจากจุดหลักๆ เหล่านี้ ก็เขียนมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านกันได้นะคร้าาบ

หากปิดระบบน้ำประปาในบ้าน แต่ลืมปิดปั๊มน้ำ จะเกิดความเสียหายอย่างไร

ใกล้วันหยุดยาวแบบนี้ หลายคนอาจกำลังวางแผนไปเที่ยว หรือ ให้ช่างมาปรับปรุงบ้านกันบ้างล่ะ แต่ก่อนออกจากบ้าน นอกจากจะปิดประตูน้ำหลังมาตรวัดน้ำที่อยู่หน้าบ้านแล้ว อย่าลืมปิดระบบปั๊มน้ำด้วยนะครับ

 

สาเหตุที่ควรปิดระบบปั๊มน้ำเมื่อไม่อยู่บ้าน

เพราะในระหว่างที่ไม่อยู่บ้าน แม้จะปิดประตูน้ำไว้แล้ว แต่แทงค์น้ำที่มีน้ำอยู่นั้น น้ำก็อาจลดลง หากเกิดน้ำรั่ว ท่อแตกภายในบ้าน เมื่อน้ำในแทงค์น้ำลดลง ลูกลอยที่อยู่ในแทงค์น้ำก็จะเกิดการเปิดนำน้ำเข้า แต่ว่าไม่มีน้ำเข้ามาสิครับ นี่ก็เกิดปัญหาแน่นอน

พอไม่มีน้ำเข้า ระบบลูกลอยในแทงค์น้ำที่เป็นตัวสั่งการไปที่เครื่องปั๊มน้ำ ก็จะสั่งให้ปั๊มน้ำทำงานตลอดเวลาโดยที่ไม่มีน้ำจากท่อเมนเข้าบ้านมาเติมให้น้ำในแทงค์ให้เต็ม มอเตอร์ของปั๊มน้ำยังคงหมุนทำงานอยู่ ทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ครับ

ก่อนเดินทางไปเที่ยววันหยุดยาวปีนี้ บ้านใครติดระบบปั๊มน้ำกับแทงค์น้ำไว้ ตรวจเช็คให้เรียบร้อย กลับมาจะได้ไม่ต้องมาแก้ปัญหากวนใจ เสียเงินซ่อมหรือซื้อปั๊มน้ำใหม่ ยังไงล่ะครับ

DIY เช็คการติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง

ปั๊มน้ำ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มแรงดันน้ำ ทำให้น้ำประปาในบ้านไหลแรงและมีแรงดันน้ำที่สม่ำเสมอ การติดตั้งปั๊มน้ำสามารถทำได้ด้วยตัวเองนะครับ แต่สำหรับมือใหม่ เราจะต้องตรวจสอบและดูแลอะไรบ้าง หลังจากติดตั้งเเล้วต้องเช็คอะไรเพิ่มเติม SANWA รวบรวมข้อมูลมาให้เเล้วครับ

เช็คการติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง

ตรวจสอบการติดตั้งปั๊มน้ำ
1.1 ปั๊มน้ำควรติดตั้งบนฐานรองสูงกว่าพื้นเล็กน้อย เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และลดโอกาสไฟฟ้ารั่ว
1.2 ปั๊มน้ำควรอยู่ห่างจากผนังประมาณ 10 cm. หรือประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อถ่ายเทอากาศ ช่วยให้ปั๊มน้ำไม่ร้อนจัดเมื่อทำงานเต็มที่
1.3 ขนาดของท่อประปาต้องเท่ากับขนาดหน้าแปลนของปั๊มน้ำ ไม่ใช้ท่อประปาที่เล็กกว่า และควรติดตั้งได้แนวระดับไม่คดเอียง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของปั๊มน้ำ
1.4 ติดตั้งในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก หากติดตั้งภายนอกอาคารควรมีหลังคาป้องกันแสงแดด และ ฝน
1.5 ควรติดตั้ง #เช็ควาล์ว หลังปั๊มน้ำเพื่อป้องกัน water hammer (กรณีปั๊มน้ำที่ไม่มีเช็ควาล์วในเครื่อง)

ระบบไฟฟ้า
2.1 ขนาดของสายไฟควรเลือกขนาดที่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าของปั๊มน้ำได้อย่างเพียงพอ ถ้าขนาดเล็กไปจะทำให้เกิดความร้อนและละลายได้
2.2 ควรติดตั้งสายไฟที่จุดต่อสายไฟในตัวปั๊ม ไม่ควรใช้การเสียบปลั๊ก หรือตัดปลายปลั๊กแล้วต่อสาย สายไฟไม่ควรมีจุดตัดต่อที่กลางสาย
2.3 ควรมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมปั๊มต่างหาก 1 ชุด เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการซ่อม
2.4 การเดินสายไฟนอกอาคารควรเดินสายไฟในท่อ พีวีซี ร้อยสาย สีเหลือง
2.5 การเดินสายไฟควรทำให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัย

การทดสอบปั๊มน้ำหลังการติดตั้ง
3.1 ทดลองเปิดใช้น้ำในบ้าน โดยเปิดก๊อกทุกตัว ดูความแรงและการไหลของน้ำว่าสม่ำเสมอดี
3.2 ทดลองเปิด-ปิดก๊อกน้ำในบ้าน ดูว่าปั๊มน้ำทำงานปกติหรือไม่
เปิดใช้น้ำ = ปั๊มน้ำทำงาน , หยุดใช้น้ำ = ปั๊มน้ำหยุดทำงาน
3.3 การสั่น และ เสียงของปั๊มน้ำเมื่อทำงาน เป็นปกติหรือไม่ เสียงต้องไม่ดังจนเกินไป
3.4 กรณีมีการติดตั้งระบบบายพาส ควรตรวจสอบการทำงานของระบบบายพาสด้วย เช่น กรณีไฟฟ้าดับหรือปั๊มน้ำหยุดทำงาน ระบบบายพาสต้องจ่ายน้ำเข้าบ้านได้
3.5 สำรวจรอยรั่วตามข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อต่อท่อประปา , ข้อต่อที่หน้าแปลนปั๊มน้ำ มีน้ำซึม หรือมีลมเข้าหรือไม่ หากมีควรแก้ไขทันที
3.6 ทดลองให้ปั๊มน้ำทำงานสัก 15 นาที หากปั๊มน้ำทำงานปกติและน้ำไหลสม่ำเสมอ และปั๊มน้ำไม่ร้อนจนเกินไป ถือว่าปกติ

เพียงใส่ใจเรื่องเหล่านี้ให้ดี การติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปเลยครับ

การถอดล้างสายฉีดชำระ [VDO]

อย่าตกใจ!! หากสายน้ำที่ออกจากสายฉีดชำระของคุณเริ่มติดขัด

อย่าตกใจ!! หากรูจ่ายน้ำเล็กของสายฉีดชำระเริ่มมีคราบสกปรกเกาะ

เหตุการณเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้หากมีสิ่งสกปรกตามท่อน้ำไหลมาอุตตัน หรือมีคราบสกปรกเกาะสายฉีดชำระ เพื่อนๆ ไม่จำเป็นต้องถอดเขวี้ยงทิ้งแล้วไปซื้อใหม่นะครับ เรามาดูวิธีถอดล้างสายฉีดชำระกันตามคลิปวิดีโอนี้กันเถอะ ง่ายนิดเดียว!!

4 ไอเทมลดหมองให้น้องสายฉีด… ให้กลับมาใสวิ้งปิ๊งเหมือนได้ของใหม่

4 ไอเทมลดหมองให้น้องสายฉีด… ให้กลับมาใสวิ้งปิ๊งเหมือนได้ของใหม่ กับของหาง่ายราคาประหยัดฉบับสามัญประจำบ้านกันครับ

ไอเทมแรก น้ำส้มสายชู เหมาะกับการขจัดคราบสกปรกทั่วไป มีขั้นตอนง่าย ๆ

  1. เทน้ำส้มสายชูในอ่างหรือกะละมังให้มิดพอที่จะแช่หัวฉีดชำระได้ หากเป็นสายฉีดชำระที่ถอดหัวฉีดไม่ได้ให้เทน้ำส้มสายชูใส่ถุงพลาสติกแล้วเอาหัวฉีดสายชำระใส่ในถุงพลาสติกแล้วก็มัดปากถุงเลยครับ
  2. แช่ทิ้งไว้มากกว่า 30 นาที
  3. ล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันเก่าขัดถูส่วนที่มีคราบสกปรกเกาะติดอยู่ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วใช้ผ้าแห้งนุ่ม ๆ เช็ดสายฉีดชำระอีกที เป็นอันเรียบร้อยครับ

ไอเทมที่ 2 เบคกิ้งโซดา เหมาะกับการขจัดคราบฝังแน่น เช่น คราบหินปูน  ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูครับ ขั้นตอนตามนี้เลย

  1. ผสมเบคกิ้งโซดา 1/3 ถ้วยตวง กับ น้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง ลงในอ่างหรือกะละมัง คนให้เข้ากัน หากเป็นสายฉีดชำระที่ถอดหัวฉีดไม่ได้ให้ใช้ถุงพลาสติกเหมือนไอเทมที่ 1 ได้ครับ
  2. แช่ทิ้งไว้ 2-3 ชม.
  3. ล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันเก่าขัดถูส่วนที่มีคราบสกปรกเกาะติดอยู่ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วใช้ผ้าแห้งนุ่ม ๆ เช็ดสายฉีดชำระไอเทมที่ 3 ยาสีฟัน ยี่ห้อไหนได้หมด เหมาะกับการทำความสะอาดสายฉีดชำระที่เป็นยาง หรือมีชิ้นส่วนที่เป็นยาง ที่มีคราบเหลืองและหินปูนเกาะอยู่ มีขั้นตอนตามนี้ครับ
    1. บีบยาสีฟันขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท ในจุดที่มีคราบสกปรก แล้วใช้แปรงสีฟันเก่าขัดถูจนกว่าคราบจะหมด
    2. ล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดด้วยผ้าแห้งนุ่มๆ อีกครั้ง ก็เรียบร้อยครับ

ไอเทมที่ 4 มะนาว  ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชู เหมาะกับการขจัดคราบสกปรกทั่วไป ขั้นตอนตามนี้เลย

  1. ผสมน้ำมะนาว 1/3 ถ้วยตวง กับ น้ำส้มสายชู 400 ml ลงในอ่างหรือกะละมังคนให้เข้ากัน หากเป็นสายฉีดชำระที่ถอดหัวฉีดไม่ได้ให้ใช้ถุงพลาสติกเหมือนไอเทมที่ 1 ได้ครับ
  2. แช่ทิ้งไว้ 12 ชม.
  3. ล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันเก่าขัดถูส่วนที่มีคราบสกปรกเกาะติดอยู่ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วใช้ผ้าแห้งนุ่ม ๆ เช็ดสายฉีดชำระอีกที แค่นี้รู้เรื่อง !!

 

เพียงเท่านี้ ก็เปลี่ยนสายฉีดชำระเก่าให้เหมือนใหม่ได้ละครับ เพื่อน ๆ สะดวกไอเทมไหนก็จัดได้ตามชอบ หรือมีเคล็ดลับใหม่ ๆ นอกเหนือจากนี้ ก็มาแชร์กันได้ที่ใต้โพสต์นี้เลยครับ